วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความลับใน ชาเขียว.

ในหนังสือเรื่อง ไขความลับธรรมชาติสู่สุขภาพที่ดีกว่า นาดีน เทย์เลอร์ กล่าวว่า ชาวจีนรู้เรื่องประโยชน์ทางยาของชาเขียวมาเป็นเวลานานอย่างน้อย 4,000 ปีมาแล้ว โดยใช้ชาเขียวในการรักษาตั้งแต่โรคปวดศีรษะไปจนถึงโรคซึมเศร้า มีการเก็บใบชาจากป่ามาปลูก และกระจายการปลูกไปตามแนวลุ่มน้ำแยงซีเกียง ตั้งแต่มณฑลเสฉวนถึงยูนาน ต่อมาราว 1,500 ปีที่แล้ว ใบชาจากจีนคือ สินค้าส่งออกทีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียและกระจายไปถึงยุโรป จนทำให้การดื่มชาได้รับความนิยมไปทั่วโลก สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้น คาดว่าได้รับอิทธิพลการดื่มชามาจากจีน ในราว ค.ศ.800 เมื่อพระที่ไปศึกษาพุทธศาสนาในจีน ได้นำใบชากลับญี่ปุ่นเพื่อไปใช้เป็นเครื่องดื่มในการบำบัดอาการต่างๆ จนกระทั่งได้รับความนิยม และมีความเชื่อว่า การดื่มชาจะทำให้มีอายุยืนยาว รักษาโรคได้มากมาย ดังที่กล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่า ชาเขียวได้จากการทำใบชาให้แห้งที่อุณหภูมิสูงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ใบชาแห้งยังคงมีสีเขียวและมีคุณภาพเช่นเดียวกับใบชาสด ซึ่งเมื่อชงน้ำร้อนแล้วจะได้น้ำชาสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดว่าชาจีน นิยมแต่งกลิ่นด้วยพืชหอม เช่น มะลิ บัวหลวง เป็นต้น โดยชาเขียวจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือชาเขียวแบบจีนและชาเขียวแบบญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างตรงที่ ชาเขียวแบบจีนจะคั่วด้วยกระทะร้อน แต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่ว
 เรามารู้จักองค์ประกอบและคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา ทางเคมีของชาเขียว ที่สำคัญ อาทิ
-สารประกอบที่สำคัญในชาเขียวเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแด็นซ์ 
(Anti-Oxidant)
 หรือสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง มีกรดอะมิโนมากกว่า 20 ชนิด วิตามินนานาชนิด เช่น
      วิตามินซี เป็นสารแอนติออกซิแดนซ์หรือสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณภาพสูง ช่วยลดความเครียด ต่อต้านภาวะติดเชื้อและเสริมการทำงานของระบบ
      วิตามินบีรวม ช่วยเสริมการทำงานในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
      วิตามินอี มีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์และช่วยชะลอความแก่
      ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่เคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ
      แร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ โซเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส และอื่นๆ
คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา
ในชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีการยืนยันจากรายงานของทีมวิทยาศาสตร์จากศูนย์กลางการวิจัยโรคมะเร็ง ในบริติชโคลัมเบีย พบว่าในชาเขียวมี สารแคเทชิน พอลิฟินอล 
(
Catechin Polyphenol)” สามารถยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังพบสาร เอพิกัลโลแคเทชิน กัลแลต(Epigallocatechin Gallate หรือ EGCG)เป็นสารต้านพิษและยังช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้มีการวิจัยมากมาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น