วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

เคปทาวน์.....


เคปทาวน์ (อังกฤษCape Townแอฟริคานส์Kaapstad) เป็นเมืองใหญ่อันดับสามและเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางของฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ 2,455 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 3,497,097 คน (พ.ศ. 2550) เมืองเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 300 ปี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่สวยที่สุดและมีเสน่ห์ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก เป็นเมืองเล็กๆที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศแอฟริกาใต้ ตรงแหลมกู๊ดโฮป ที่ยื่นออกไปทางระหว่างสองมหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติก จึงมีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นแบบเมดิเตอร์เรเนียน
จุดเด่นของเมืองอยู่ที่ภูเขาลูกใหญ่กลางเมืองที่สามารถมองเห็นได้จากทุกสารทิศ รูปทรงแปลกตาคือ มีลักษณะเสมือนโต๊ะที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินอย่างไรอย่างนั้น จึงทำให้ภูเขาลูกนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเขาโต๊ะ หรือ Table Mountain มีความสูง 1,086 เมตร หรือ 3,563 ฟุต
นอกจากเมืองเคปทาวน์ เมืองหลวงอีกสองแห่งของประเทศแอฟริกาใต้ได้แก่ กรุงพริทอเรีย เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารประเทศ และบลูมฟอนเทน ซึ่งเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางทางฝ่ายตุลาการ
ในปี 2010 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก สนามกีฬาเคปทาวน์เป็นหนึ่งในบรรดาสนามแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2010 ได้รับสมญานามว่า เป็นดินแดนแห่งการท่องเที่ยวติดอันดับหนึ่งในห้าของโลก เมืองเคปทาวน์ ตั้งอยู่ในแผ่นดินที่มีลักษณะคล้ายอ่าง (City Bowl) มีภูเขาล้อมรอบ อยู่ทางตอนเหนือของแหมลเพนนินซูลา ภูมิอากาศแบบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลมแรงตลอดทั้งปี ทำให้พัดมลพิษทางอากาศไปจากเมืองอากาศจึงบริสุทธิ์

วาสโก ดากามา~

วาสโก ดา กามา นักสำรวจชาวโปรตุเกสพร้อมลูกเรือ ค้นพบอินเดีย

     วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) นักสำรวจชาวโปรตุเกสพร้อมลูกเรือ 265 คน เป็นชาวยุโรปคณะแรกที่ค้นพบ อินเดีย วาสโก ดา กามาได้รับมอบหมายจาก พระเจ้ามานูเอล ที่ 1 แห่งโปรตุเกส (Manuel I of Portugal) ให้เดินเรือไปค้นหาอินเดียซึ่งชาวตะวันตกสมัยนั้นเชื่อเป็นดินแดนคริสเตียน และเพื่อการค้าเครื่องเทศกับโลกตะวันออก โดยออกจาเมืองท่าในกรุงลิสบอนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2040 เดินเรือไปตามเส้นทางที่ บาโทโลมิว ไดแออส (Batolomeu Dias) ได้เคยสำรวจไว้ก่อนหน้า ผ่าน แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) จนมาถึงชายฝั่งมาลาบาร์ (Malabar Coast) เมืองคาลิคัต (Calicut) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ในสมัยที่อินเดียยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโมกุล (Mughal Empire) จากนั้นได้กลับมาอินเดียอีก 2 ครั้ง ก่อนจะป่วยและเสียชีวิตที่เมืองโคชิ (Kochi) ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2067

Yannick Noah - On court



On court, on dort
On court, on se réveille
Le temps court encore
On est à cours de sommeil

On court, on bosse
On court après le train
On court comme des gosses
On sait plus où est le frein

On court, on vit
On court, on est mort
On dit stop, c'est fini
Le temps, le temps court encore

On court après l'amour
Après la prochaine rencontre
On court comme des gamins
On sait plus où est le frein

(REFRAIN)
Venez on s'arrête
et on ferme les yeux
On contemple la mer,
on contemple les cieux
Venez on s'arrête,
on marche dans l'autre sens
On revient sur nos pas
On s'arrête et on danse (Hééé)

On court, on ment
On s'aime et puis on court
Le temps c'est de l'argent
On en manque, on est à cours

On court après le monde
On court sur nos chemins
On avance comme des ombres
On sait plus où est le frein

On court avec ou sans buts
pour éviter la chute
Même si on coupe ou rien
On sait plus où est le frein !

REFRAIN

On s'arrête et on danse !

REFRAIN

On s'arrête et on danse..
On s'arrête et on danse !
(x3)

เจ้าลีเมอร์ตัวน้อย~

ลีเมอร์ (อังกฤษ: Lemur) เป็นอันดับฐานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมตหรือลิง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lemuriformes
ลักษณะโดยรวมของลีเมอร์ คือ มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับลิง แต่ทว่ามีส่วนหัวคล้ายหมาจิ้งจอก คือ มีจมูกและปากแหลมยาว มีดวงตากลมโต ขนหนาฟู มีหางยาวเป็นพวงเหมือนกระรอก โดยลีเมอร์เป็นไพรเมตที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Prosimian ซึ่งรวมถึงลิงลมกาลากอส และทาร์เซีย เพราะมีสายวิวัฒนาการที่ใกล้เคียงกัน จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ ซึ่งคำว่า "Prosimian" นั้น มีความหมายว่า "ก่อนลิง"
คำว่า "ลีเมอร์" แปลงมาจากคำว่า Lemures ในเทพปกรณัมโรมันหมายถึง "ดวงวิญญาณ, ผี หรือปีศาจ"
ขนาดโดยทั่วไปโดยเฉลี่ยของลีเมอร์ขนาดเท่าแมว น้ำหนักตัวประมาณ 9 กิโลกรัม โดยที่ชนิดที่มีขนาดเล็กมีรูปร่างใกล้เคียงกับหนู มีการกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ทางชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกที่เดียวเท่านั้น เหตุเพราะสันนิษฐานว่า ที่เกาะแห่งนี้ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้สัตว์หลายชนิดมีการวิวัฒนาการเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ และไม่มีสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่คอยคุกคาม โดยอาศัยอยู่ในป่าดิบ บนต้นไม้ใหญ่ หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในเวลากลางคืน โดยที่สันนิษฐานอีกว่า บรรพบุรุษของลีเมอร์ เดินทางมายังเกาะมาดากัสการ์ด้วยกอพรรณพืชหรือต้นไม้เมื่อ 60 ล้านปีก่อน โดยลีเมอร์ได้วิวัฒนาการตัวเองแยกมาเป็นชนิดต่าง ๆ จากถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง อันเป็นผลจากการที่น้ำท่วมเกาะ ก่อให้เกิดเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ มากมาย และลีเมอร์ชนิดต่าง ๆ ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวและถูกจำกัดในเรื่องอาหาร จากพายุไซโคลนที่พัดถล่มในมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษของลีเมอร์นั้นแรกเริ่มมีขนาดเล็ก และอาจเกาะกับต้นไม้ลอยน้ำมาในรูปแบบของการจำศีล
ลีเมอร์มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง จุดเด่นอีกประการของลีเมอร์ คือ เสียงร้องที่หลากหลายและดังกึกก้องไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาออกหากินในยามพลบค่ำ ซึ่งอาหารของลีเมอร์ได้แก่ใบไม้ผลไม้แมลงไข่นก และสัตว์ขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ แตกต่างออกไปตามแต่ละชนิด ด้วยการใช้ขาหน้าที่เสมือนมือในการหยิบฉวย ขุดคุ้ย หยิบจับอาหารได้คล่องแคล่วเช่นเดียวกับสัตว์ประเภทอื่นในอันดับเดียวกัน หากแต่จะใช้หางในการเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ไม่ได้
ลีเมอร์ในปัจจุบัน ได้รับการจำแนกแล้วประมาณ 100-103 ชนิดใน 5 วงศ์ (ดูในตาราง) และหลายชนิดและหลายวงศ์ก็ได้สูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ ลีเมอร์หางวงแหวน (Lemur catta) ที่มีส่วนหางเป็นลายปล้อง ๆ สลับขาว-ดำรัฟด์ลีเมอร์ (Varecia spp.) เป็นลีเมอร์ที่มีขนสีขาวรอบ ๆ ใบหน้าแลดูคล้ายเครา และอาย-อาย (Daubentonia madagascariensis) ซึ่งมีลำตัวสีดำ มีนิ้วมือที่ยาวใช้สำหรับเคาะหาแมลงหรือหนอนที่อยู่ใต้เปลือกไม้กินเป็นอาหาร ในเวลากลางคืน เป็นต้น
ตามรายงานของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่า ว่าร้อยละ 91 ของลีเมอร์ 103 ชนิดที่รู้จักกำลังตกอยู่ในภาวะถูกคุกคาม โดยลีเมอร์ 23 ชนิด ถูกจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ขั้นวิกฤต อีก 52 ชนิดถูกจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ และอีก 19 ชนิดจัดอยู่ในภาวะมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ตามบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) โดยลีเมอร์ชนิดที่หายากที่สุด คือ ลีเมอร์นอร์เทิร์นสปอร์ตีฟ (Lepilemur septentrionalis) ที่เหลือเพียงแค่ 18 ตัวเท่านั้น

เฟื่องฟ้าาาาา~



เฟื่องฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม.
ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราว ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราว พศ. 2423 ใน สมัยรัชกาลที่ 5พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย

ประวัติ เนลสัน มันเดลา รัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่!!

เนลสัน โรลีลาลา แมนเดลา (Nelson Rolihlahla Mandela) หรือที่รู้จักกันในนาม เนลสัน แมนเดลา อดีตผู้นำแอฟริกาใต้ เขานับเป็นรัฐบุรุษของโลก ผู้ที่อุทิศตนที่ต่อสู้เพื่อล้มล้างความเชื่อ ลัทธิการเหยียดผิวและ ผลักดันให้เกิดสันติภาพให้เท่าเทียมกันทั่วโลก ล่าสุดเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา เนลสัน แมนเดลา ได้อสัญกรรม (เสียชีวิต) ลงด้วยวัย 95 ปี และเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ เนลสัน แมนเดลา วันนี้ทาง สกู๊ปเอ็มไทย จึงขอนำประวัติและ เรื่องราวชีวิตของ เนลสัน แมนเดลา มาบอกต่อกันครับ
เนลสัน แมนเดลา
เนลสัน แมนเดลา
ประวัติเนลสัน มันเดลา
เนลสัน แมนเดลา เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม 
พ.ศ. 2461 เป็นผู้สืบทายาทสายหนึ่งของราชวงศ์เทมบู ที่ปกครองแคว้นทรานสไก ในจังหวัดอีสเทิร์นแคป ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยเขาเกิดที่อึมเวโซ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในเมืองอุตาตา ซึ่งเป็นเมื่องหลวงของทรานสไก เดิมแท้จริงแล้ว เนลมัน แมนเดลา มีชื่อจริงว่า โรลีห์ลาห์ลาซึ่งมีควายหมายว่า “เจ้าตัวยุ่ง”  แต่ต่อมา มันเดลา ได้เข้าไปศึกษาที่โรงเรียน ครูของเขาได้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้โดยเรียกว่า “เนลสัน” จึงทำให้ได้ที่มาเป็น เนลสัน แมนเดลา นั้นเอง
เนลสัน แมนเดลา ได้สำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิทส์วอเทอแรนด์ ด้านกฎหมายหลักสูตรทางไกลกับมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งทำให้ เนลสัน แมนเดลา ได้พบเจอกับผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้รับความคิดแบบเสรีนิยม และความคิดต่อสู้เพื่อชาวแอฟริกัน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเหยียดผิว การถูกกระทำแบบสองมาตรฐาน ซึ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้เขาเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเกี่ยวกับการเหยียดผิว
เมื่อปี พ.ศ. 2491 ชัยชนะในการเลืองตั้งตกเป็นของพรรคชาตินิยม ซึ่งสนับสนุนนโยบายการแบ่งแยกสีผิวอย่างรุนแรง ยิ่งทำให้ แมนเดลาเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เขาเป็นผู้นำคนสำคัญในการต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว โดยแมนเดลาเริ่มทำการเจรจารต่อต้านรัฐบาลโดยไม่ใช้ความรุนแรง แต่เขาและเพื่อร่วมขบวานการกว่า 150 คน ถูกจับกุมเมื่อวันที่  5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ในข้อหากบฏ แต่การไต่สวนคดีมีเวลายาวนานมาก ทำให้คดีสิ้นสุดลงโดยไม่มีความผิด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 แมนดาลาได้เป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธของเอเอ็นซี ได้เปิดปฏิบัติการวินาศกรรมทางเศรษฐกิจจนกระทั่งถูกจับในที่สุด และเขาถูกแจ้งข้อหาก่อวินาศกรรม และพยายามโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีการรุนแรง โดยระหว่างการพิจารณาคดีที่เมืองริโวเนีย แมนเดลาได้ประกาศความเชื่อของเขาในเรื่องประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเท่าเทียมว่า
“ผมเชิดชูอุดมคติเรื่องสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพ ที่ซึ่งคนทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ และได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน นี่คือสังคมอุดมคติที่ผมปรารถนาจะไปให้ถึง เป็นอุดมคติที่ผมพร้อมจะอุทิศชีวิตให้”
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2507 เขาถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตบนเกาะร็อบเบนเป็นเวลา 18 ปี ก่อนถูกย้ายมายังเรือนจำโพลส์มัวร์บนแผ่นดินใหญ่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งขณะที่เขาถูกจองจำอยู่นั้น พวกเยาวชนตามเมืองต่าง ๆ ของชนผิวดำยังคงต่อสู้กับการปกครองโดยคนผิวขาวส่วนน้อยต่อไป จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก
ขณะนั้น โอลิเวอร์ แทมโบ ซึ่งเป็นสหายของแมนเดลา ในสมัยศึกษาปริญญาตรีด้วยกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ลี้ภัย ได้รณรงค์ระดับสากล เรียกร้องและกดดันให้ ปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา ด้วยวิธีจัดคอนเสิร์ต ณ สนามกีฬาเวมบลีย์ กรุงลอนดอน ที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 72,000 คน อีกทั้งยังถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์ ทำให้สุดท้าย ไม่สามารถทนแรงกดดันจากทั่วโลกได้ จะต้องสั่งปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา ให้เป็นอิสระ
แต่วิถีชีวิตของ เนลสัน ยังไม่หยุดลงแค่นั้น ในปี พ.ศ. 2536 เขาได้รับรางวัลสาขาสันติภาพ อีกทั้งชาวแอฟริกาใต้ทุกผัวสี ได้ลงคะแนนเสียงให้เขาเปนประธานาธิบดี ของแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม2537 ซึ่งเขาได้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการเหยียสีผิวเป็นลำดับต้นๆ จนถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2542 เขาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีลง แต่เขายังใช้เวลาส่วนใหญ่กับเรื่องสิทธิมนุษยชนและ ความรู้เรื่องการติดต่อของโรคเอดส์ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในแอฟริกาเป็นอย่างมาก
เนลสัน แมนเดลา
เนลสัน แมนเดลา
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าชีวิตของ เนลสัน แมนเดลา ได้ผ่านเรื่องราวการต่อสู้มาอย่างยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีการแบ่งแยกเหยียดสีผิว ซึ่งถึงแม่ว่า เนลสัน จะต้องจากไปด้วยโรคปอดและโรคแทรกซอนเรื้อรังมาอย่างยาวนาน แต่เนลสัน แมนเดลา ก็ยังคงเป็นรัฐบุรุษของโลก ที่เป็นนักสู้ที่ทำเพื่อคนทุกคนให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ