1. เทศกาลบอลลูนนานาชาติอัลบูเควียร์ก (Albuquerque International Balloon Fiesta) รัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 5-13 ตุลาคม
หมูจะบินได้จริงๆ ก็คราวนี้ ในเทศกาลที่รวบรวมบอลลูนอากาศร้อน รวมไปถึงบอลลูนรูปร่างพิเศษต่างๆ (Special Shape Rodeo) ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมาแสดง ที่มีทั้งบอลลูนรูปร่างพิเศษต่างๆ (Special Shape Rodeo) และการปล่อยบอลลูนหมู่ (Mass Ascension) เมื่อบอลลูนนับพันๆ ลูกลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมเสียงเพลงชาติอเมริกาที่ดังกระหึ่มขึ้น
2. เทศกาลลอยกระทง จ.สุโขทัย ประเทศไทย ประมาณเดือนพฤศจิกายน โดยปี 2556 นี้ตรงกับ 17 พ.ย.
ประเทศไทย (และบางพื้นที่ของลาวและพม่า) เฉลิมฉลอง “ขบวนแห่ลอยน้ำ” ด้วยการลอยแพที่ประดับประดาด้วยดอกไม้ และการปล่อยโคมลอยสู่ท้องฟ้า โดยมีการจุดดอกไม้ไฟและงานรื่นเริงร่วมด้วย
3. งานคาร์นิวัล (Carnival) กรุงรีโอเดจาเนโร (Rio de Janero) ประเทศบราซิล
งานคาร์นิวัลแห่งเมืองรีโอคืองานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดของโลกแล้ว จิตวิญญาณแห่งแซมบ้าอันเป็นตำนานของบราซิลสะท้อนออกมาได้เยี่ยมยอดที่สุดผ่านวงดนตรีในขบวนพาเหรดที่นำโดยมือกลองและนักร้อง โดยมีส่วนที่สำคัญที่สุดของงาน คือการแสดงของโรงเรียนสอนเต้นแซมบ้าในแซมบ้าโดรม (Sambadrome)
4. อ็อกโทเบอร์เฟสต์ (Oktoberfest) เมืองมิวนิก (Munich) ประเทศเยอรมนี ช่วงเดือนตุลาคม
ผู้ที่สนใจไปร่วมงานไม่ถึงกับต้องลุกขึ้นมาแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยชุดเต็มยศเหมือนอย่างพวกหนุ่มๆ เหล่านี้ก็ได้ แต่ก็ถ้าอยากร่วมสนุกและเต็มที่ไปกับงาน ก็ขอเชิญแต่งตัวเท่ห์และสวยในแบบฉบับเยอรมัน แล้วมาดื่มด่ำไปกับเบียร์เยอรมันภายในงาน นอกเหนือไปจากเต๊นท์เบียร์แล้วก็ ยังมีสวนสนุกขนาดใหญ่ให้เพลินเพลินอีกด้วย
5. เทศกาลเผาหุ่น (Las Fallas) เมืองวาเลนเซีย (Valencia) ประเทศสเปน ช่วงเดือนพฤษภาคม
น่าเสียดายที่ปีนี้คุณพลาดไปเสียแล้ว แต่เชื่อไหมว่าชาววาเลนเซียเองก็อาจจะเริ่มลงมือตระเตรียม ฟาลยา (falla) หรือโมเดลขนาดใหญ่ที่ทำมาจากตุ๊กตาหรือหุ่นกระดาษ สำหรับปีหน้ากันแล้ว เพราะว่าใช้เวลาในการทำนานเป็นเดือนๆ ทั้งหมดก็เพื่อนำเข้าร่วมขบวนพาเหรดที่มุ่งสู่กองไฟกองใหญ่นั่นเอง
6. เทศกาลช้าง เมืองชัยปุระ (Jaipur) ประเทศอินเดีย ในวันที่16 มีนาคม
ช้างมีความสำคัญเสมอมาในสังคมของชาวอินเดีย เป็นการแสดงความขอบคุณต่อพระพิฆเนศวร เทพในศาสนาพราหมณ์ที่มีเศียรเป็นช้าง ผู้ซึ่งเป็นองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ และเป็นเหมือนผู้นำของเหล่าช้างทั้งหลาย
7. เทศกาลโคมไฟผิงซี (PingXi Sky Lantern Festival) กรุงไทเป (Taipei) ประเทศไต้หวัน
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ในขณะที่โคมไฟจีนได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลฤดูร้อน และในรายงานการพบยูเอฟโอในสหราชอาณาจักร พบว่าไทเปกลับมีการปล่อยโคมกว่า 150,000 ขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน
8. เทศกาลอูฐเมืองพุชคาร์ (Pushkar Camel Fair) ประเทศอินเดีย ในวันที่ 6-17 พฤศจิกายน
ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพบอูฐตัวจริง คุณจะต้องอยากไป “การชุมนุมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของชนเผ่าของอินเดีย” เพราะว่าที่นี่มีอูฐกว่า 20,000 ตัวบนทะเลทรายราชาสถาน (Rajasthan dessert) และยิ่งหากคุณกำลังมองหาพาหนะที่ไม่มีทั่วไปในบ้านเรา อูฐก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าลอง
9. วันแห่งความตาย (Days of the Dead) ประเทศเม็กซิโก ในวันที่ 1-2 พฤศจิกายน
ต่อเนื่องมาจากฮัลโลวีน วันแห่งความตาย (Los Dias de los Muertos) นับว่าเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ทั่วโลกรู้กันดีถึงการฉลองให้กับคนตาย “ผู้ที่ยังอยู่” เชิญดวงวิญญาณ (ญาติสนิทเท่านั้น ไม่ใช่ใครก็ได้นะเออ) ให้มาเยี่ยมครอบครัว อย่างน้อยๆ ทั้งคนเป็นและคนตาย ทุกคนก็จะได้รับประทานขนมและอาหารในแบบสยองขวัญกันถ้วนหน้า
10. เทศกาลน้ำแข็งเมืองฮาร์บิน (Harbin Ice Festival) ประเทศจีน ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม
ฮาร์บิน (Harbin) เมืองหลวงของมณฑลเหยหลงเจียง (Heilongjiang) อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นเจ้าภาพจัดเทศกาลน้ำแข็งและหิมะอันเย็นยะเยือกนี้ มีจุดเด่นคือการแกะสลักน้ำแข็ง การแสดงตะเกียงน้ำแข็ง เลื่อนน้ำแข็ง เรือใบน้ำแข็ง ฮ็อกกี้น้ำแข็ง ฟุตบอลน้ำแข็ง และอื่นๆ อีกมากมายเท่าที่จะสามารถโยงไปกับน้ำแข็งได้